วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

โคลงโลกนิติ


โคลงโลกนิติ เป็นสุภาษิตเก่าแก่ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี นักปราชญ์ในครั้งนั้น ได้สรรหาคาถาสุภาษิต อันมีอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ ทั้งที่เป็นภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต แล้วนำมาแปลเป็นภาษาไทย โดยการประพันธ์แต่งเป็นคำโคลงไปทุกๆคาถา รวมเรียกว่า “โคลงโลกนิติ” อันมีความหมายว่า “ชี้ หรือ แนะ (ประโยชน์)ให้แก่โลก


เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ เมื่อปี .๒๓๗๔ ทรงมีพระราชประสงค์จะให้จารึกโคลงโลกนิติ ลงในแผ่นศิลาในวัดพระเชตุพนเป็นธรรมทาน จึงได้โปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร รวบรวมโคลงโลกนิติของเก่า มาชำระแก้ไขใหม่ ให้เรียบร้อย ประณีต และไพเราะ ด้วยปรากฏว่า ของเก่าที่คัดลอกต่อๆกันมา มีถ้อยคำที่วิปลาศคลาดเคลื่อนไปมาก, โคลงโลกนิติ จึงถือเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร และเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า ทุกสถานะอาชีพ มีการนำไปอบรมเล่าเรียนและประพฤติปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง ต่อเนื่องกันมาช้านานจนถึงปัจจุบัน

สำหรับคัมภีร์ต่างๆ ที่เป็นที่มาของโคลงโลกนิติ นั้น ประกอบด้วย คัมภีร์ที่เป็นภาษาบาลี ได้แก่ คัมภีร์โลกนิติ (โลกนิติปกรณ์คัมภีร์โลกนัย คัมภีร์ธรรมนีติ ราชนีติ คัมภีร์พระธรรมบท ชาดก และอื่นๆที่ยังไม่ทราบและคัมภีร์ที่เป็นภาษาสันสกฤต ได้แก่ จาณักยศตกะ วยาการศตกะ และ หิโตปเทศ  แต่ทั้งนี้ อาจถือได้ว่า คัมภีร์ภาษาบาลีมีอิทธิพลมากกว่า ด้วยว่า คัมภีร์โลกนิติ (โลกนิติปกรณ์ได้เป็นทั้งที่มาของชื่อ ”โคลงโลกนิติ” (ซึ่งเรียกตามชื่อคัมภีร์อันเป็นที่มาและเป็นที่มาของบทโคลงภาษาไทยจำนวนถึง ๗๓ บทกล่าวโดยย่อ ที่มาที่สำคัญที่สุดของโคลงโลกนิติ คือ คัมภีร์โลกนิติ (โลกนิติปกรณ์), ส่วนที่มาที่สำคัญรองลงไปก็คือ คัมภีร์ธรรมนีติ 
 อย่างไรก็ตาม มีการพบว่า คาถาใดในคัมภีร์โลกนิติ (โลกนิติปกรณ์อันเป็นที่มาของบทโคลงโลกนิติ คาถานั้นก็มักจะปรากฏอยู่ในคัมภีร์ธรรมนีติด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจเป็นเพราะคัมภีร์โลกนิติ (โลกนิติปกรณ์เคยได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์ธรรมนีติ มาก่อนแล้ว

           “โลกนิติ” เป็นคำที่เรียกตามชื่อคัมภีร์โลกนิติ (โลกนิติปกรณ์อันเป็นที่มาแต่แรก ซึ่งในภายหลังต่อมา ได้มีการแต่งโคลงเพิ่มขึ้นมา โดยอิงอาศัยคัมภีร์อื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก คำว่า โคลงโลกนิติ” จึงน่าจะมีความหมายในวงกว้าง ว่า “ชี้ หรือ แนะ(ประโยชน์ให้แก่โลก

 อนึ่ง ในบทส่งท้ายของโคลงโลกนิติ แม้จะแจ้งว่า มีจำนวนโคลงทั้งสิ้น ๔๐๘ บท แต่เมื่อสอบดูแล้ว พบว่า มีเพียง ๔๐๒ บท เท่านั้น ในจำนวนนี้ ที่ทราบที่มาอย่างชัดเจน มีด้วยกันทั้งหมด ๑๕๓ บท ที่สันนิษฐานว่ามาจากคัมภีร์ต่างๆ มี ๒๙ บท ที่มีอุปมาอุปไมยจากชาดกหรือนิทานไทยแท้แต่โบราณ มี  บท ที่มีเนื้อความตรงกับวรรณคดีอื่นๆ  บท ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของกวี มี ๑๐๙ บท ที่ปรากฏคาถาแต่ยังไม่ทราบที่มา มี ๒๔ บท และที่ยังไม่ทราบที่มา มี ๗๓ บท 
 นอกจากนี้ ยังมีโคลงโลกนิติอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งไม่ปรากฏในต้นฉบับตัวเขียน แต่ปรากฏอยู่ในประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ และประชุมโคลงโลกนิติ ซึ่งกรมศิลปากรเป็นผู้รวบรวมและอ้างว่า เป็นพระนิพนธ์ของกรมพระยาเดชาดิศรเช่นกัน ในกลุ่มนี้ มีโคลงจำนวน ๓๑ บท ซึ่งสามารถทราบที่มาได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น