วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

นิทานเรื่องคอเป็นเอ็น

โดย
นางสาวณัชชา จินดาเนตร
คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย หมู่๑
ชั้นปีที่๓ รหัสนักศึกษา๕๓๓๔๑๐๐๑๐๑๐๙













วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

เรื่องย่อหัวใจชายหนุ่ม


   นายประพันธ์ ประยูรสิริ เป็นหนุ่มไทยที่เดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศอังกฤษ เมื่อสำเร็จการศึกษาก็เดินทางกลับประเทศไทยโดยทางเรือ ขณะเดินทางก็เขียนจดหมายถึงเพื่อนชื่อ นายประเสริฐ  สุวัฒน์  ที่ยังคงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ เขียนเล่าเรื่องราวเมื่อกลับมาถึงเมืองไทยโดยผ่านจดหมาย ๑๘ ฉบับ ด้วยการระบายความรู้สึกที่คิดถึงประเทศอังกฤษและคนรักชาวอังกฤษ
            การเดินทางกลับเมืองไทยในครั้งนี้ ประพันธ์ต้องเข้ารับราชการด้วยการฝากเข้าตามเส้นสายซึ่งเขาไม่ชอบ แต่เขาก็ไม่สามารถหางานทำเองได้ และพ่อได้เตรียมหาคู่ครองที่เหมาะสมให้ชื่อ แม่กิมเน้ย ซึ่งประพันธ์ไม่ประทับใจ  ด้วยเห็นว่าแม่กิมเน้ยหน้าตาเหมือนนางชุนฮูหยิน สวมเครื่องประดับมากเกินไป ดูพะรุงพะรังราวต้นคริสต์มาส และที่สำคัญประพันธ์ไม่ชอบการแต่งงานแบบคลุมถุงชน
            ประพันธ์ไม่มีความสุขเพราะไม่มีสถานเริงรมย์ให้เลือกเที่ยวมากมายเหมือนที่อังกฤษ แต่เขาเริ่มมีความสุขเพลิดเพลินขึ้นมาอีกครั้งเมื่อได้รู้จักกับหญิงชื่อ อุไร สาวงามที่มีความทันสมัยไม่ต่างจากสาวฝรั่ง
            ประพันธ์และอุไรคบหากันอย่างสนิทสนมและออกเที่ยวเตร่ด้วยกันจนทำให้อุไรเกิดตั้งครรภ์และพ่อต้องจัดการแต่งงานทั้งๆที่ไม่พอใจเป็นอย่างมาก หลังจากแต่งงานอุไรยังชอบเที่ยวเตร่และใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยจนทั้งสองมีปากเสียงกัน ทำให้อุไรหันไปคบกับชายคนใหม่ชื่อ พระยาตระเวนนคร ทั้งๆที่เขามีภรรยาแล้วถึง ๗ คน ในที่สุดประพันธ์และอุไรก็ต้องหย่าขาดกัน

            ครั้นประพันธ์ได้เลื่อนยศเป็นหลวงบริบาลบรมศักดิ์ อุไรจึงได้กลับมาขอคืนดี เพราะพระยาตระเวนนครมีภรรยาสาวคนใหม่จึงขอบ้านที่เธออยู่คืน แต่ประพันธ์ไม่ใจอ่อนและแนะนำให้เธอกลับไปอยู่บ้านพ่อ ไม่นานอุไรก็แต่งงานใหม่กับ หลวงพิเศษผลพานิช พ่อค้าที่มีฐานะดี ทำให้ประพันธ์รู้สึกโล่งใจเป็นอย่างมาก
            ต่อมาประพันธ์ได้พบกับหญิงสาวคนหนึ่งชื่อ ศรีสมาน และรู้สึกพึงใจในตัวเธอมาก ทั้งนี้ผู้ใหญ่สองฝ่ายก็ชอบพอกัน ประพันธ์จึงหวังว่าจะแต่งงานครองคู่อยู่กับศรีสมานอย่างมีความสุขยั่งยืนในอนาคต

การแต่งนิราศ


นิราศ หมายถึง งานประพันธ์ประเภทหนึ่ง ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้น ได้แก่ โคลงหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยอยุธยา นิราศนั้น มักมีเนื้อหาในเชิงพรรณนาถึงการเดินทางเป็นหลัก มักจะเล่าถึงเส้นทาง การเดินทาง และบอกเล่าถึงสิ่งที่พบเห็นระหว่างการเดินทาง ขณะเดียวกัน มักจะสอดแทรกความคิด ความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางนั้น โดยมักจะเชื่อมโยงสิ่งที่พบเห็นกับความรู้สึกภายใน ผู้แต่งนิราศ มักจะใช้คำประพันธ์แบบร้อยกรองเป็นหลัก แต่นิราศที่แต่งด้วยร้อยแก้วก็มีอยู่บ้างเช่นกัน อนึ่ง คำว่า นิราศ มีความหมายตามตัวอักษรว่า จาก พราก ไปจาก ฯลฯ แต่นิราศอาจหมายถึงงานประพันธ์ที่พรรณนาถึงเหตุการณ์ตามลำดับ พร้อมทั้งแสดงอารมณ์ความรู้สึกที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์นั้นๆ โดยมิได้มีการเดินทาง หรือการพลัดพรากก็ได้
วรรณกรรมประเภทนิราศมักจะมีความยาวไม่มาก พรรณนาถึงสิ่งสวยงาม และความรู้สึกผูกพันที่มีต่อบุคคลที่ตนรัก และเนื่องจากกวีส่วนใหญ่เป็นชาย เนื้อหาในนิราศจึงมักจะพรรณนาถึงหญิงที่ตนรัก กระทั่งกลายเป็นขนบของการแต่งนิราศมาจวบจนปัจจุบัน ที่ผู้แต่งนิราศ มักจะผูกเรื่องราวของการคร่ำครวญถึงหญิงที่รัก ขณะที่เล่าถึงสิ่งที่ได้พบเห็นระหว่างการเดินทางด้วย
คำประพันธ์
คำประพันธ์ที่ใช้แต่งนิราศนั้นมีด้วยกันหลากหลาย ขึ้นกับความนิยมของกวีผู้แต่งนิราศเรื่องนั้นๆ ในสมัยอยุธยา มักจะมีนิราศคำโคลงมากกว่าอย่างอื่นๆ ส่วนนิราศคำฉันท์นั้นปรากฏน้อย เช่น นิราศษีดา และบุณโณวาทคำฉันท์ ขณะเดียวกันนิราศที่แต่งด้วยกาพย์ห่อโคลง เช่น กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา
สม้ยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นิราศส่วนใหญ่ยังนิยมแต่งด้วยคำโคลงมากกว่าอย่างอื่น เช่น นิราศนรินทร์ ของนายนรินทรธิเบศร์ ทว่าในสมัยต่อๆ มา เริ่มมีความนิยมแต่งนิราศคำกลอนมากขึ้น โดยเฉพาะนิราศของสุนทรภู่ นั้นส่วนใหญ่แต่งด้วยกลอนแปด หรือกลอนเพลงยาว หรือกลอนตลาด สุดแต่จะเรียก และกล่าวได้ว่า สุนทรภู่ เป็นกวีที่แต่งนิราศคำกลอนไว้มากที่สุดด้วย (สุนทรภู่มีนิราศคำโคลงหนึ่งเรื่อง คือนิราศสุพรรณ)
อย่างไรก็ตาม นิราศยังสามารถแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทอื่นๆ ได้ เช่น ลิลิต คำกาพย์ หรือแม้กระทั่งร้อยแก้ว สำหรับนิราศร้อยแก้วนั้น ปรากฏน้อยมาก เช่น นิราศนครวัด พระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นต้น
นิราศเป็นการเรียกวรรณกรรมตามลักษณะของเนื้อหา มิใช่เป็นการบัญญัติหรือกำหนดกะเกณฑ์ ผู้อ่านจึงไม่ควรยึดถือเคร่งครัด ว่าวรรณกรรมเรื่องใดเป็นนิราศหรือไม่ เนื่องจากนิราศเรื่องหนึ่งๆ จึงอาจมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากนิราศเรื่องอื่นๆ ก็ได้ เช่น เล่าถึงการเดินทาง แต่มิได้พรรณนาถึงการพลัดพราก เป็นต้น วรรณคดีบางเรื่องยังอาจระบุได้ไม่ถนัด ว่าเป็นนิราศหรือไม่ เช่น นิราศษีดา ที่นำเรื่องราวในรามเกียรติ์มาแต่งเป็นทำนองนิราศ ทว่าผู้แต่งมิได้มีประสบการณ์ร่วมในเนื้อหานั้นๆลิลิตพระลอ

นิทานเวตาล


   ณ ฝั่งแม่น้ำโคทาวรี มีพระมหานครแห่งหนึ่งตั้งอยู่นามว่า ประดิษฐาน ที่เมืองนี้ในสมัยบรรพกาลมีพระราชาธิบดีองค์หนึ่ง ทรงนามว่า ตริวิกรมเสน ได้ครองราไชศวรรย์มาด้วยความผาสุก พระองค์เป็นราชโอรสของพระเจ้าวิกรมเสนผู้ทรงเดชานุภาพเทียมท้าววัชรินทร์
          ต่อมาได้มีนักบวชชื่อ ศานติศีล ได้นำผลไม้มาถวายทุกวันมิได้ขาด ซึ่งพระราชาแปลกใจ และได้ไปพบในคืนหนึ่งตามนัด ได้ถามถึงเหตุผลและเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณ โยคีศานติศีลจอมเจ้าเล่ห์ได้ขอให้พระราชาตริวิกรมเสนนำเวตาลมาให้ตนเพื่อจะประกอบมหายัญพิธี
          พระราชาผู้มีสัจจะเป็นมั่น ได้ไปนำเวตาลมาให้โยคีเจ้าเล่ห์ แต่เวตาลก็พยายามหน่วงเหนี่ยวด้วยการเล่านิทานทั้งสิ้น ๒๔ เรื่องด้วยกัน ซึ่งแต่ละเรื่องจะมีคำถามให้พระราชาตอบ โดยมีข้อแม้ว่า หากพระราชาทราบคำตอบแล้วไม่ตอบ ศีรษะของพระราชาจะต้องหลุดจากบ่า และหากพระราชาเอ่ยปากพูดเวตาลก็จะกลับไปสู่ที่เดิม
          และก็เป็นดังนั้นทุกครั้ง ที่พระราชาตอบคำถามของเวตาล เวตาลก็จะหายกลับไปสู่ต้นไม้ที่สิงที่เดิม พระราชาก็จะเสด็จกลับไปเอาตัวเวตาลทุกครั้งไป จนเรื่องสุดท้ายพระราชาไม่ทราบคำตอบ ก็ทรงเงียบไม่พูด เวตาลพอใจในตัวพระราชามาก เพราะเป็นพระราชาผู้ไม่ย่อท้อ ผู้มีความกล้าหาญ ทำให้เวตาลบอกความจริงในความคิดของโยคีเจ้าเล่ห์ ว่าโยคีนั้นแท้จริงแล้ว ต้องการตำแหน่งราชาแห่งวิทยาธร โดยจะเอาพระราชาเป็นเครื่องสังเวยในการทำพิธี และอธิบายถึงวิธีกำจัดโยคีเจ้าเล่ห์
          เมื่อพระราชาเสด็จมาถึงโยคีตามที่นัดหมายไว้ ก็ปรากฎว่าโยคีได้เตรียมการทำอย่างที่เวตาลได้บอกกับพระราชาไว้ พระราชาจึงแก้โดยทำตามที่เวตาลได้อธิบายให้พระราชาฟัง พระราชาจึงได้ตำแหน่งราชาแห่งวิทยาธร และเวตาลได้บอกกับพระราชาตริวิกรมเสนว่า "ตำแหน่งนี้ได้มาเพราะความดีของพระองค์ ตำแหน่งนี้จะคอยพระองค์อยู่หลังจากที่ทรงเสวยสุขในโลกมนุษย์จนสิ้นอายุขัยแล้ว ข้าขอโทษในกาลที่แล้วมาในการที่ยั่วยวนประสาทพระองค์ แต่ก็ไม่ทรงถือโกรธต่อข้า บัดนี้ข้าจะถวายพรแก่พระองค์ ขอทรงเลือกอะไรก็ได้ตามใจปรารถนาเถิด" พระราชาก็ตรัสว่า "เพราะเหตุที่เจ้ายินดีต่อข้า และข้าก็ยินดีในความมีน้ำใจของเจ้าเช่นเดียวกัน พรอันใดที่ข้าจะปรารถนาก็เป็นอันสมบูรณ์แล้ว ข้าเพียงแต่อยากจะขออะไรสักอย่างเป็นที่ระลึกระหว่างข้ากับเจ้า นั่นก็คือนิทานที่เจ้ายกปัญหามาถามข้าถึงยี่สิบสี่เรื่อง และคำตอบของข้าก็ให้ไปแล้วเช่นเดียวกัน แลครั้งที่ยี่สิบห้าคือวันนี้ถือเป็นบทสรุป แสดงอวสานของเรื่อง ขอให้นิทานชุดนี้จงมีเกียรติแพร่กำจายไปในโลกกว้าง”
          เวตาลก็สนองตอบว่า “ขอจงสำเร็จ โอ ราชะ บัดนี้จงฟังเถิด ข้าจะกล่าวถึงคุณสมบัติที่ดีเด่นของนิทานชุดนี้ สร้อยนิทานอันร้อยรัดเข้าด้วยกันดังสร้อยมณีสายนี้ ประกอบด้วยยี่สิบสี่เรื่องเบื้องต้น แลมาถึงบทที่ยี่สิบห้า อันเป็นบทสรุปส่งท้าย นับเป็นปริโยสาน นิทานชุดนี้จงเป็นที่รู้จักกันในนามของเวตาลปัญจวิงศติ (นิทานยี่สิบห้าเรื่องของเวตาล) จงมีเกียรติยศบันลือไปในโลก และนำความเจริญมาสู่ผู้อ่านทุกคน ใครก็ตามที่อ่านหนังสือแม้แต่โศลกเดียว หรือเป็นผู้ฟังเขาอ่านก็เช่นเดียวกัน จักรอดจากคำสาปทั้งมวล บรรดาอมนุษย์ทั้งหลาย มียักษ์ เวตาล กุษมาณฑ์ แม่มด หมอผีและรากษส ตลอดจนสัตว์โลกประเภทเดียวกันนี้ จงสิ้นฤทธิ์เดชเมื่อได้ยินใครอ่านนิทาน อันศักดิ์สิทธิ์นี้”
          พระศิวะได้ฟังเรื่องของต่าง ๆ ของเวตาลจบก็กล่าวชื่นชมในองค์พระราชาตริวิเสนมาก ซึ่งพระศิวะได้สร้างจากอนุภาคโดยให้มาปราบอสูรคนร้ายต่าง ๆ เมื่อพระราชาตริวิกรมเสนได้เป็นจอมราชันแห่งวิทยาธรทั้งโลกและสวรรค์แล้ว ก็เกิดความเบื่อหน่าย หันไปบำเพ็ญทางธรรมจนบรรลุความหลุดพ้น

โคลงโลกนิติ


โคลงโลกนิติ เป็นสุภาษิตเก่าแก่ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี นักปราชญ์ในครั้งนั้น ได้สรรหาคาถาสุภาษิต อันมีอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ ทั้งที่เป็นภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต แล้วนำมาแปลเป็นภาษาไทย โดยการประพันธ์แต่งเป็นคำโคลงไปทุกๆคาถา รวมเรียกว่า “โคลงโลกนิติ” อันมีความหมายว่า “ชี้ หรือ แนะ (ประโยชน์)ให้แก่โลก


เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ เมื่อปี .๒๓๗๔ ทรงมีพระราชประสงค์จะให้จารึกโคลงโลกนิติ ลงในแผ่นศิลาในวัดพระเชตุพนเป็นธรรมทาน จึงได้โปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร รวบรวมโคลงโลกนิติของเก่า มาชำระแก้ไขใหม่ ให้เรียบร้อย ประณีต และไพเราะ ด้วยปรากฏว่า ของเก่าที่คัดลอกต่อๆกันมา มีถ้อยคำที่วิปลาศคลาดเคลื่อนไปมาก, โคลงโลกนิติ จึงถือเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร และเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า ทุกสถานะอาชีพ มีการนำไปอบรมเล่าเรียนและประพฤติปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง ต่อเนื่องกันมาช้านานจนถึงปัจจุบัน

สำหรับคัมภีร์ต่างๆ ที่เป็นที่มาของโคลงโลกนิติ นั้น ประกอบด้วย คัมภีร์ที่เป็นภาษาบาลี ได้แก่ คัมภีร์โลกนิติ (โลกนิติปกรณ์คัมภีร์โลกนัย คัมภีร์ธรรมนีติ ราชนีติ คัมภีร์พระธรรมบท ชาดก และอื่นๆที่ยังไม่ทราบและคัมภีร์ที่เป็นภาษาสันสกฤต ได้แก่ จาณักยศตกะ วยาการศตกะ และ หิโตปเทศ  แต่ทั้งนี้ อาจถือได้ว่า คัมภีร์ภาษาบาลีมีอิทธิพลมากกว่า ด้วยว่า คัมภีร์โลกนิติ (โลกนิติปกรณ์ได้เป็นทั้งที่มาของชื่อ ”โคลงโลกนิติ” (ซึ่งเรียกตามชื่อคัมภีร์อันเป็นที่มาและเป็นที่มาของบทโคลงภาษาไทยจำนวนถึง ๗๓ บทกล่าวโดยย่อ ที่มาที่สำคัญที่สุดของโคลงโลกนิติ คือ คัมภีร์โลกนิติ (โลกนิติปกรณ์), ส่วนที่มาที่สำคัญรองลงไปก็คือ คัมภีร์ธรรมนีติ 
 อย่างไรก็ตาม มีการพบว่า คาถาใดในคัมภีร์โลกนิติ (โลกนิติปกรณ์อันเป็นที่มาของบทโคลงโลกนิติ คาถานั้นก็มักจะปรากฏอยู่ในคัมภีร์ธรรมนีติด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจเป็นเพราะคัมภีร์โลกนิติ (โลกนิติปกรณ์เคยได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์ธรรมนีติ มาก่อนแล้ว

           “โลกนิติ” เป็นคำที่เรียกตามชื่อคัมภีร์โลกนิติ (โลกนิติปกรณ์อันเป็นที่มาแต่แรก ซึ่งในภายหลังต่อมา ได้มีการแต่งโคลงเพิ่มขึ้นมา โดยอิงอาศัยคัมภีร์อื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก คำว่า โคลงโลกนิติ” จึงน่าจะมีความหมายในวงกว้าง ว่า “ชี้ หรือ แนะ(ประโยชน์ให้แก่โลก

 อนึ่ง ในบทส่งท้ายของโคลงโลกนิติ แม้จะแจ้งว่า มีจำนวนโคลงทั้งสิ้น ๔๐๘ บท แต่เมื่อสอบดูแล้ว พบว่า มีเพียง ๔๐๒ บท เท่านั้น ในจำนวนนี้ ที่ทราบที่มาอย่างชัดเจน มีด้วยกันทั้งหมด ๑๕๓ บท ที่สันนิษฐานว่ามาจากคัมภีร์ต่างๆ มี ๒๙ บท ที่มีอุปมาอุปไมยจากชาดกหรือนิทานไทยแท้แต่โบราณ มี  บท ที่มีเนื้อความตรงกับวรรณคดีอื่นๆ  บท ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของกวี มี ๑๐๙ บท ที่ปรากฏคาถาแต่ยังไม่ทราบที่มา มี ๒๔ บท และที่ยังไม่ทราบที่มา มี ๗๓ บท 
 นอกจากนี้ ยังมีโคลงโลกนิติอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งไม่ปรากฏในต้นฉบับตัวเขียน แต่ปรากฏอยู่ในประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ และประชุมโคลงโลกนิติ ซึ่งกรมศิลปากรเป็นผู้รวบรวมและอ้างว่า เป็นพระนิพนธ์ของกรมพระยาเดชาดิศรเช่นกัน ในกลุ่มนี้ มีโคลงจำนวน ๓๑ บท ซึ่งสามารถทราบที่มาได้

กลอนแปดสุภาพ – ฉันทลักษณ์


กลอนแปด

กลอนแปดคณะหนึ่ง จะมี  4 วรรค ทุกวรรคมีแปดคำ
วรรคแรก เรียกว่า วรรคสดับ
วรรคสอง เรียกว่า วรรครับ
วรรคสาม เรียกว่า วรรครอง
วรรคสี่ เรียกว่า วรรคส่ง
อ่านเป็นสามตอนในทุกวรรค สามคำ สองคำ และสามคำ ทั้งมีกำหนดสัมผัสด้วย
กลอนแปดนั้นไม่บังคับวรรณยุกต์ บังคับแต่รูปสระ
กลอนแปดสุภาพ
ส่วนกลอนแปดสุภาพนั้นเหมือนกลอนแปดทั่วไป แต่จะเพิ่มบังคับรูปวรรณยุกต์ไว้
จะลองเขียนร่างแผนผังดู
๐๐๐ ๐๐ ๐๐๐      ๐๐๐ ๐๐ ๐๐สุภาพ                   ( วรรคสดับ – วรรครับ )
๐๐๐ ๐๐ ๐๐สุภาพ     ๐๐๐ ๐๐ ๐๐สุภาพ            ( วรรครอง – วรรคส่ง  )
๐๐๐ ๐๐ ๐๐๐          ๐๐๐ ๐๐ ๐๐สุภาพ               ( วรรคสดับ – วรรครับ  )
๐๐๐ ๐๐ ๐๐สุภาพ     ๐๐๐ ๐๐ ๐๐สุภาพ             ( วรรครอง – วรรคส่ง  )
แต่ทีนี้ไม่มีเครื่องมือให้ใช้ จึงขอยกมาจากอินเตอร์แล้วปรับเติมนิดหน่อย ดังนี้ค่ะ
ดังตัวอย่าง :-
จะออกปากฝากรักก็ศักดิ์ต่ำ         กลัวจะซ้ำถมทับไม่นับถือ
ถึงยามนอนร้อนฤทัยดังไฟฮือ…. ชมแต่ชื่อก็ค่อยชื่นทุกคืนวัน
เวลาหลับคลับคล้ายไม่วายเว้น     ได้พบเห็นชื่นใจแต่ในฝัน
ขอฝากปากฝากคำที่รำพัน ……..ให้ทราบขวัญนัยนาด้วยอาวรณ์

วรรณกรรมวิจารณ์


การวิจารณ์วรรณกรรม หมายถึง การให้คำติชม ให้คำตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปะ (ในที่นี้คือวรรณกรรม งานเขียน)ว่ามีคุณค่าหรือขาดตกบกพร่องอย่างไร การวิจารณ์วรรณกรรมเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ คือมีระเบียบมีกฎเกณฑ์ไปตามกระบวนเหตุผล และความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการแปลกใหม่ การวิจารณ์เป็นการะบวนการการสื่อสาร ไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นฝ่ายเดียว การวิจารณ์เป็นเสาหลักของวัฒนธรรมที่มีการปฏิสัมพันธ์กัน คือต้องแลกเปลี่ยนกันนั่นแหละค่ะ
เครื่องมือในการวิจารณ์ เช่น
Aesthetic สุนทรียศาสตร์ คือศาสตร์แห่งการเรียนรู้ความงามศิลปะ วิเคราะห์ในแง่ความงามเป็นหลัก
literary theory ทฤษฎีวรรณคดี ศาสตร์ของการศึกษาว่าด้วยองค์ประกอบคุณสมบัติ และการประเมินค่า
การวิจารณ์วรรณกรรมมีหลายแนวทาง ทฤษฎีต่างๆมีเยอะบึ้ม เช่นใช้จิตวิทยาในการวิจารณ์วรรณกรรม กะสืบไปถึงคนเขียนเลย เรียกว่าจิตวิเคราะห์ ว่าเขาคิดยังไงถึงเขียนออกมาแบบนี้ นักเขียนบางคนใช้วรรณกรรมเป็นเครื่องระบายความรู้สึกเก็บกดจากจิตใต้สำนึกก็มี
วิธีวิจารณ์วรรณกรรมมีสองวิธี คือ
1. Practicakl criticism เชิงปฏิบัติ เน้นวิเคราะห์องค์ประกอบงานเขียน ดูว่าข้อ 1-4 สัมพันธ์กับข้อ 5 หรือแก่นเรื่องหรือไม่
องค์ประกอบงานเขียนมีดังนี้ค่ะ
1.รูปแบบการประพันธ์ เช่น ร้อยแก้ว ร้อยกรอง นิยาย บทละคร
2.โครงเรื่อง การใช้กลวิธีเล่าเรื่องเช่นเล่าเรื่องที่เกิดทีหลัง แล้วย้อนกลับมาก่อนหน้า (flashback)
3. ตัวละคร เช่น
-แบนราบ (flat) พวกดีก็ดีหมด ชั่วก็ชั่วหมด
-ซับซ้อน (round) มีดีชั่วปะปน นิสัยเปลี่ยนตามเหตุการณ์ สมจริง เหมือนคนจริงๆ
-ตัวละครธรรมเนียมนิยม (stock) จำพวกเป็นแบบฉบับ นางอิจฉาต้องกรี๊ด อะไรประมาณนี้
4. ฉาก สภาพภูมิประเทศ สถานที่ อาชีพ ชีวิตประจำวันของตัวละคร เวลา ยุค ความสัมพันธ์ระหว่างฉากกับตัวละคร
5. แก่นเรื่อง เรื่องนี้คนอ่านจะสื่ออะไร เหมือนสกัดสมุนไพร คือต้องสกัดจากเนื้อเรื่องออกมา
2. Theoretical criticism เชิงทฤษฎี เน้นการประยุกต์วรรณกรรมกับทฤษฎี แนวคิดต่างๆ เช่น จิตวิเคราะห์ มาร์กซิสม์ วรรณกรรมหลังอณานิคม วรรณกรรมชายขอบ เพศสถานะ อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ ชีวประวัติผู้แต่ง ดูแก่นเรื่องโดยเฉพาะ การเปรียบเทียบ โดยเจาะประเด็นใดประเด็นหนึ่ง
เช่น บทกวีเปิบข้าว (เปิบข้าวทุกคราวคำ ฯลฯ จิตร ภูมิศักดิ์) ประยุกต์กับแนวคิดมาร์กซิสม์ได้ แนวคิดนี้พูดถึงความเท่ากัน ชาวนากับชนชั้นกลาง แสดงการถูกเอารัดเอาเปรียบของชาวนา เป็นต้น
หลักการเขียนงานวิจารณ์
1.อ่านงานเขียนอย่างละเอียด
2.เข้าใจความหมายงานเขียน
3.วิเคราะห์ส่วนต่างๆของงานเขียนตามเชิงปฏิบัติ
4.เลือกประเด็นสำคัญ ไม่กว้างเกิน ข้อมูลเพียงพอ
5.ตั้งสมมติฐานในการตอบ
6.หาหลักฐานสนับสนุน
7.หาข้อสรุป